สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ได้กำหนดทิศทางการจัดการศึกษา ด้วย "CHAINAT Smart2 Model" โดยมีวิสัยทัศน์ “สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาตรฐาน  สร้างเด็กดี  มีความสุข  ด้วยนวัตกรรมการศึกษา” เพื่อให้เด็กชัยนาทเป็น "เด็กดี เด็กเรียนดี เด็กมีความสุข"

ผู้บริหาร

นายนิรุตต์  เข็มเงิน
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

เชื่อมโยงลิงค์อื่นๆ

E-service

ส่งเสริมการอ่าน

ช่องทางการร้องเรียน

FACEBOOK

สถิติการใช้งาน

เข้าใช้จาก IP : 216.73.216.179
Online อยู่ : 1
วันนี้ 1
เมื่อวานนี้ 0
เดือนนี้ 1
ปีนี้ 2
รวมทั้งหมด 152
Record: 40 (15.04.2018)
( Counter 02-07-2025 )

นโยบาย

นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารและจัดการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2569 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 ข้อ สู่การเป็น “องค์กรคุณภาพ สร้างคนดี มีความสุข”

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จึงได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ด้วย "CHAINAT Smart2 Model" ดังมีรายละเอียดของแนวทางการดำเนินการเชิงระบบ เป้าหมาย และค่านิยมองค์กร ที่มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ดังนี้

แนวทางการดำเนินการเชิงระบบ 7 แนวทาง

1. รอบรู้บริบท (C : Context) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ เพื่อใช้   ในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. กำหนดเป้าหมายเด่นชัด รอบด้าน (H : Highlight) การตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดความสำเร็จได้ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้ มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครู ผู้บริหาร โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

3.  มุ่งกระบวนงานเชิงรุก (A : Active) การดำเนินการอย่างเป็นระบบจากการวางแผนล่วงหน้า มีความทันสมัย เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับบริบทและเป้าหมายที่กำหนด

4.  ผูกประสานเทคโนโลยี นวัตกรรม (I : Innovation) การนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

5. ก้าวนำเครือข่ายประสานงาน (N : Network) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่หลากหลายรอบด้าน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ

6.  มาตรฐานการวัดประเมินผล (A : Assessmentism) การมีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และวัดประเมินผล เพื่อตรวจสอบความสำเร็จของการดำเนินการ ด้วยเครื่องมือวัดและประเมินผล   ที่มีคุณภาพ

7.  พัฒนาคน ปฏิรูปงาน (T : Transformation) การมุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กร และปรับปรุงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายการยกระดับคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ  5  ด้าน

1.  นักเรียนเป็นเลิศ (S1 : Smart Students) มีสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต

2.  ครูเป็นเลิศ (S2 : Smart Teachers) มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งครู สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

3.  ผู้บริหารโรงเรียนเป็นเลิศ (S3 : Smart Administrators) มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้นำการเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

4.  โรงเรียนเป็นเลิศ (S4 : Smart Schools) มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และมีความปลอดภัย มีหลักสูตรและการจัดการเรียนที่หลากหลายตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน      มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

5.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเป็นเลิศ (S5 : Smart Office) เป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน ขับเคลื่อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรด้วยนวัตกรรม และยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ

ค่านิยมองค์กร  5  ประการ

“องค์กรมาตรฐาน สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเลิศ : CHAINAT SMART TEAM”

1.  พร้อมจิตบริการ (S : Service Mind) การให้บริการอย่างกัลยาณมิตร ยิ้มแย้ม แจ่มใสประสานสัมพันธ์กันในองค์กร พร้อมใจให้บริการเพื่อความพึงพอใจของทุกคน                                             

2.  กระบวนงานคุณภาพ  (M : Mastery)  การมีระบบงานและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน     มีความถูกต้องตามกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มีความเชี่ยวชาญในงาน 

3.  มุ่งผลสัมฤทธิ์ (A : Achievement) การเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุความสำเร็จตามความมุ่งหมาย

4.  รู้ถูกผิดต่อหน้าที่ (R : Responsibility) การรับผิดชอบงานในหน้าที่ และงานที่ได้รับมอบหมาย เกิดประสิทธิภาพของงาน

5.  องค์กรดี สุจริตธรรม (T : Transparency) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ยึดหลักธรรมาภิบาล

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

“ชัยนาทเมืองเด็กดี เด็กเรียนดี เด็กมีความสุข”

นโยบายที่  1  ยกระดับศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  1 เพิ่มศักยภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นเด็กดีด้วยศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

จุดเน้นที่  2 เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

จุดเน้นที่  3  เพิ่มศักยภาพนักเรียนตามพหุปัญญา พัฒนาความสามารถพิเศษสู่ความเป็นเลิศ และมีทักษะชีวิต

จุดเน้นที่  4 เพิ่มศักยภาพด้านอาชีพสู่การมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn) และส่งเสริม Soft Power ความเป็นไทย

นโยบายที่  2 ยกระดับสมรรถนะครูสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  5 เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะครูตามมาตรฐานตำแหน่ง

จุดเน้นที่  6 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์

จุดเน้นที่  7 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สู่การเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime)

นโยบายที่  3  ยกระดับสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  8 เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนตามมาตรฐานตำแหน่ง

จุดเน้นที่  9 เพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

นโยบายที่  4  ยกระดับการดำเนินงานโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  10 เพิ่มความเข้มแข็งระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สู่การพัฒนา    

คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดเน้นที่  11 เพิ่มความเข้มแข็งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบแนะแนวการชี้แนะ (Coaching) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) และความปลอดภัยสถานศึกษาในทุกมิติ เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษา

จุดเน้นที่  12 เพิ่มความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการคุณภาพ การป้องกันและต่อต้านการทุจริต ตามแนวทางโรงเรียนสุจริต 

จุดเน้นที่  13 เพิ่มความหลากหลาย และทันสมัยในการจัดการเรียนรู้ ปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องตามพัฒนาการ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล เสริมสร้างความเข้มแข็งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ชุมนุม ชมรม และจิตอาสา)

นโยบายที่  5  ยกระดับประสิทธิภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  14 เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่ทันสมัย ลดภาระงานซ้ำซ้อน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และยึดหลักธรรมาภิบาล

จุดเน้นที่  15 เพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐาน PMQA / AP / QP และ ITA

ข้อมูล : นโยบาย เผยแพร่โดย : administrator View : 82166