สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ได้กำหนดทิศทางการจัดการศึกษา ด้วย "CHAINAT Smart2 Model" โดยมีวิสัยทัศน์ “สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาตรฐาน  สร้างเด็กดี  มีความสุข  ด้วยนวัตกรรมการศึกษา” เพื่อให้เด็กชัยนาทเป็น "เด็กดี เด็กเรียนดี เด็กมีความสุข"

ผู้บริหาร

นายนิรุตต์  เข็มเงิน
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

เชื่อมโยงลิงค์อื่นๆ

E-service

ส่งเสริมการอ่าน

ช่องทางการร้องเรียน

FACEBOOK

สถิติการใช้งาน

เข้าใช้จาก IP : 216.73.216.179
Online อยู่ : 1
วันนี้ 1
เมื่อวานนี้ 0
เดือนนี้ 1
ปีนี้ 2
รวมทั้งหมด 152
Record: 40 (15.04.2018)
( Counter 01-07-2025 )

เป้าประสงค์/จุดเน้น/กลยุทธ์

เป้าประสงค์ (Goals)

1. ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร  มีทักษะที่จำเป็น

ในศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นคนไทย 4.0 ดำรงตนตามศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นการมีส่วนร่วม

ของผู้เรียน และสนับสนุนการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3. ผู้เรียนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและสถานศึกษามีคุณภาพ

ตามมาตรฐานการศึกษา

4. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง มีทักษะการจัดการเรียนรู้

ในศตวรรษที่ 21  มีทักษะภาษาอังกฤษและดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้

5. ผู้บริหารสถานศึกษามีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม  และมีภาวะผู้นำทางวิชาการ

6. องค์กรมีระบบบริหารจัดการศึกษาที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนคุณภาพด้วยนวัตกรรม

และยึดหลักธรรมาภิบาล

กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

ค่านิยมองค์กร

“องค์กรมาตรฐาน สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเลิศ : CHAINAT SMART TEAM”

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2569

1. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

สู่การปฏิบัติ

1.1)  สร้างความรู้ ความเข้าใจการนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในสถานศึกษา เพื่อการดําเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน

1.2) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมที่น้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวง รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และสามารถดํารงชีวิต       อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

2. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย

2.1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตยในสังคมร่วมสมัย

2.2) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ประชาธิปไตย และส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย

3. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลาย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3.1) ปรับหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย (อนุบาล 1 - 3) และระดับประถมศึกษาตอนต้น (ประถมศึกษาปีที่ 1 - 3) ให้เป็นไปตามพัฒนาการและความสามารถตามช่วงวัย

3.2) ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อพัฒนาสมรรถนะสําคัญของผู้เรียน

3.3) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI ระบบการเรียนแบบ Hybrid

VR GAMIFICATION Metaverse Digital Twin 3.0 Digital Classroom เป็นต้น

3.4) พัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ด้วยการเรียนรู้  อย่างมีความสุข

3.5) ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.6) ส่งเสริม พัฒนา ต่อยอดแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

4. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น

4.1) ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.2) พัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA

5. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5.1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการทําประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสาทําความดีด้วยหัวใจ

5.2) สร้างผู้นําด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บําเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ

5.3) ส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วมให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดี และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

6. เร่งพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสําหรับเด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ

6.1) สนับสนุนสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ

6.2) ส่งเสริมองค์ความรู้ เจตคติและทักษะการจัดการเรียนรู้สําหรับครูผู้สอนและพี่เลี้ยงเด็กพิการ

6.3) ปรับปรุง พัฒนาห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อเด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ

6.4) สร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ระหว่างสถานศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และทีมสหวิชาชีพ

6.5) นิเทศ กํากับ ติดตาม โดยร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน

7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศสําหรับผู้มีความสามารถพิเศษ

7.1) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญา

7.2) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสําหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฏศิลป์ ด้านกีฬา และด้านอื่น ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

7.3) ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษ และ Soft Power อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

8. เสริมสร้างความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา

8.1) ส่งเสริม สนับสนุนความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพาผู้เรียน ไปนอกสถานศึกษา

8.2) สร้างเครือข่ายและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา

8.3) สร้างภูมิคุ้มกัน ปลูกฝัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา รวมทั้งมีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เข้าสู่วงจรยาเสพติด

8.4) สร้างองค์ความรู้ในการรับมือกับภัย ๔ กลุ่ม ให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

8.5) รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผ่านระบบ OBEC Safety Center

8.6) ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้

9. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

9.1) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา  ตามนโยบายรัฐบาล “Thailand Zero Dropout”

9.2) ส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน เฝ้าระวัง และดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กไร้สัญชาติ เด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ ตามความต้องการจําเป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

9.3) ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะในการดําเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้

9.4) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน โดยบุคคล ครอบครัว (Home School) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการ

10. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ทันสมัย

10.1) พัฒนาผู้บริหารสํานักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรส่วนกลาง ให้เป็นผู้นําเชิงกลยุทธ์ นํานโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารสถานการณ์

10.2) พัฒนาสมรรถนะครู ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล จิตวิญญาณความเป็นครู และทักษะอื่น ๆ ที่จําเป็น

10.3) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการด้านทักษะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

11. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา

11.1) แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

11.2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานด้วยสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการสําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา

11.3) สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใส

11.4) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา

11.5) ยกเลิกครูเวร โดยจัดหานักการภารโรงครบทุกโรงเรียน

11.6) ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา และปรับลดภาระงานที่ไม่จําเป็นหรือซ้ำซ้อน

11.7) จัดหาอุปกรณ์การสอน และสวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอและเหมาะสม

11.8) บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

11.9) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV/DLIT) และการจัดการสื่อสารทางไกลแบบสื่อสารสองทาง (IDL)

11.10) พัฒนาการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

12. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

12.1) เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) โดยมีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ที่ “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

12.2) ส่งเสริมการจัดทําแฟ้มประวัติผู้เรียนแบบออนไลน์ (Portfolio online)

12.3) ขับเคลื่อนโครงการ 1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ

12.4) สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนวการชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน

12.5) พัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อใช้ในการสะสมหน่วยกิตและผลการเรียนของผู้เรียน (Credit Bank)

12.6) เสริมสร้างทักษะอาชีพที่จําเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) และการมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn)

12.7) จัดให้มีอาหารสําหรับนักเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ รวมทั้งสนับสนุน

งบประมาณอาหารกลางวันให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

12.8) ขับเคลื่อนโครงการ “สุขาดี มีความสุข” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้เรียน

ครูและบุคลากรทางศึกษา

13. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด โปร่งใส และตรวจสอบได้

13.1) พัฒนาการบริหารจัดการหน่วยงานในทุกระดับให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

13.2) ยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานทุกระดับ (ITA)

13.3) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความปลอดภัย ให้กับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด

13.4) ปรับปรุงการบริหารจัดการงบประมาณและกฎหมายให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระบรมราโชบายด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้

1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง

มีความรู้ความเข้าใจที่มีต่อชาติบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน

2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง-มีคุณธรรม

รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด-ชอบ/ชั่ว-ดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่วและช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง

3. มีงานทำ - มีอาชีพ

การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและเยาวชน รักงาน สู้งาน ทำจนงานสำเร็จ การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็น และมีงานทำในที่สุด และต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตร มีอาชีพมีงานทำ จนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว

4. เป็นพลเมืองดี

การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน ครอบครัว สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี การเป็นพลเมืองดี คือ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ ก็ต้องทำ” เช่น งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลให้ทำด้วยความ มีน้ำใจ และความเอื้ออาทรเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) แห่งสหประชาชาติ เพื่อให้การพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน สหประชาชาติจึงได้ประกาศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1. เป้าหมายที่ 4 (Goal) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (SDG04)

เป้าหมายย่อย (Target)

1) เป้าหมายย่อยที่ 4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียน  ที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG0401)

2) เป้าหมายย่อยที่ 4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา

การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้น

มีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG0402)

3) เป้าหมายย่อยที่ 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทักษะทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG0404)

4) เป้าหมายย่อยที่ 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศในการศึกษาและสร้างหลักประกันว่า

กลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับ       อย่างเท่าเทียมภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG0405)

5) เป้าหมายย่อยที่ 4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิง     ในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG0406)

6) เป้าหมายย่อยที่ 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็น

สำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิต    ที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุข และการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการที่วัฒนธรรมมีส่วนร่วมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG0407)

7) เป้าหมายย่อยที่ 4.A สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษา ที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน (SDG040A)

8) เป้าหมายย่อยที่ 4.C เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านทางความร่วมมือ

ระหว่างประเทศ ในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573 (SDG040C)

2. เป้าหมายที่ 11 (Goal) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง

พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน (SDG011)

เป้าหมายย่อย (Target)

เป้าหมายย่อย 11.4 เสริมความพยายามที่จะปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ (SDG1104)

3. เป้าหมายที่ 16 (Goal) ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ (SDG016)

เป้าหมายย่อย (Target)

1) เป้าหมายย่อย 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่ง

ให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (SDG01601)

2) เป้าหมายย่อย 16.4 ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 (SDG01604)

3) เป้าหมายย่อย 16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ (SDG01605)

นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารและจัดการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2569 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 ข้อ สู่การเป็น “องค์กรคุณภาพ สร้างคนดี มีความสุข”

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จึงได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ด้วย "CHAINAT Smart2 Model" ดังมีรายละเอียดของแนวทางการดำเนินการเชิงระบบ เป้าหมาย และค่านิยมองค์กร ที่มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ดังนี้

แนวทางการดำเนินการเชิงระบบ 7 แนวทาง

1. รอบรู้บริบท (C : Context) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ เพื่อใช้   ในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. กำหนดเป้าหมายเด่นชัด รอบด้าน (H : Highlight) การตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดความสำเร็จได้ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้ มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครู ผู้บริหาร โรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

3.  มุ่งกระบวนงานเชิงรุก (A : Active) การดำเนินการอย่างเป็นระบบจากการวางแผนล่วงหน้า มีความทันสมัย เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับบริบทและเป้าหมายที่กำหนด

4.  ผูกประสานเทคโนโลยี นวัตกรรม (I : Innovation) การนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

5. ก้าวนำเครือข่ายประสานงาน (N : Network) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่หลากหลายรอบด้าน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ

6.  มาตรฐานการวัดประเมินผล (A : Assessmentism) การมีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และวัดประเมินผล เพื่อตรวจสอบความสำเร็จของการดำเนินการ ด้วยเครื่องมือวัดและประเมินผล   ที่มีคุณภาพ

7.  พัฒนาคน ปฏิรูปงาน (T : Transformation) การมุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กร และปรับปรุงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายการยกระดับคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ  5  ด้าน

1.  นักเรียนเป็นเลิศ (S1 : Smart Students) มีสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต

2.  ครูเป็นเลิศ (S2 : Smart Teachers) มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งครู สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

3.  ผู้บริหารโรงเรียนเป็นเลิศ (S3 : Smart Administrators) มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้นำการเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

4.  โรงเรียนเป็นเลิศ (S4 : Smart Schools) มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และมีความปลอดภัย มีหลักสูตรและการจัดการเรียนที่หลากหลายตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน      มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

5.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเป็นเลิศ (S5 : Smart Office) เป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน ขับเคลื่อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรด้วยนวัตกรรม และยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ

ค่านิยมองค์กร  5  ประการ

“องค์กรมาตรฐาน สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเลิศ : CHAINAT SMART TEAM”

1.  พร้อมจิตบริการ (S : Service Mind) การให้บริการอย่างกัลยาณมิตร ยิ้มแย้ม แจ่มใสประสานสัมพันธ์กันในองค์กร พร้อมใจให้บริการเพื่อความพึงพอใจของทุกคน                                             

2.  กระบวนงานคุณภาพ  (M : Mastery)  การมีระบบงานและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน     มีความถูกต้องตามกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มีความเชี่ยวชาญในงาน 

3.  มุ่งผลสัมฤทธิ์ (A : Achievement) การเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุความสำเร็จตามความมุ่งหมาย

4.  รู้ถูกผิดต่อหน้าที่ (R : Responsibility) การรับผิดชอบงานในหน้าที่ และงานที่ได้รับมอบหมาย เกิดประสิทธิภาพของงาน

5.  องค์กรดี สุจริตธรรม (T : Transparency) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ยึดหลักธรรมาภิบาล

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

“ชัยนาทเมืองเด็กดี เด็กเรียนดี เด็กมีความสุข”

นโยบายที่  1  ยกระดับศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  1 เพิ่มศักยภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นเด็กดีด้วยศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

จุดเน้นที่  2 เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

จุดเน้นที่  3  เพิ่มศักยภาพนักเรียนตามพหุปัญญา พัฒนาความสามารถพิเศษสู่ความเป็นเลิศ และมีทักษะชีวิต

จุดเน้นที่  4 เพิ่มศักยภาพด้านอาชีพสู่การมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn) และส่งเสริม Soft Power ความเป็นไทย

นโยบายที่  2 ยกระดับสมรรถนะครูสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  5 เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะครูตามมาตรฐานตำแหน่ง

จุดเน้นที่  6 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์

จุดเน้นที่  7 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สู่การเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime)

นโยบายที่  3  ยกระดับสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  8 เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนตามมาตรฐานตำแหน่ง

จุดเน้นที่  9 เพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

นโยบายที่  4  ยกระดับการดำเนินงานโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  10 เพิ่มความเข้มแข็งระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สู่การพัฒนา    

คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดเน้นที่  11 เพิ่มความเข้มแข็งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบแนะแนวการชี้แนะ (Coaching) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) และความปลอดภัยสถานศึกษาในทุกมิติ เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษา

จุดเน้นที่  12 เพิ่มความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการคุณภาพ การป้องกันและต่อต้านการทุจริต ตามแนวทางโรงเรียนสุจริต 

จุดเน้นที่  13 เพิ่มความหลากหลาย และทันสมัยในการจัดการเรียนรู้ ปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องตามพัฒนาการ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล เสริมสร้างความเข้มแข็งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ชุมนุม ชมรม และจิตอาสา)

นโยบายที่  5  ยกระดับประสิทธิภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

จุดเน้นที่  14 เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่ทันสมัย ลดภาระงานซ้ำซ้อน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และยึดหลักธรรมาภิบาล

จุดเน้นที่  15 เพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐาน PMQA / AP / QP และ ITA

ข้อมูล : เป้าประสงค์/จุดเน้น/กลยุทธ์ เผยแพร่โดย : administrator View : 89279